หลักการทำงานของโพลีเมอร์อุ้มน้ำ SAP

สารอุ้มน้ำ ซึ่งก็คือโพลีเมอร์ชนิดพิเศษ หรือ superabsorbent polymer (SAP) มีแรงยึดน้ำที่อุ้มไว้ต่ำกว่าแรงดึงจากพืช รากสามารถเจริญ แทงผ่านเข้าไปในโพลีเมอร์เปียกได้ปรุโปร่งราก สามารถดึงดูดน้ำออกจากโพลีเมอร์ได้จนน้ำหยดสุดท้าย โดยโพลีเมอร์ไม่สามารถดึงน้ำออกจากพืชได้เลย โพลีเมอร์เปียกจะถูกดูดน้ำไปเรื่อย ๆ จนแห้งและยุบลงจนเหลือขนาดเล็กนิดเดียว ซึ่งกลายเป็นโพรงที่ว่างอยู่ในพื้นดิน ถ้ารดน้ำหรือฝนตกอีก น้ำจะเข้าไปในโพรงนี้ โพลีเมอร์จะเปียกและอุ้มน้ำได้อย่างรวดเร็ว ถ้ามีน้ำมากเกินความสามารถที่จะอุ้มน้ำได้ น้ำส่วนเกินก็จะไหลซึมลงดินตามปกติ
การใช้โพลีเมอร์รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้านั้น ทำให้กล้าที่นำไปปลูกได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ น้ำช่วยในการละลายแร่ธาตุอาหารสำหรับพืช น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง การลำเลียงอาหาร กล้าไม้จึงมีอัตราการรอดตายสูงสามารถตั้งตัวได้เร็ว และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนจะถูกสะสมไว้ ไม่ไหลซึมไปโดยเปล่าประโยชน์

บริเวณที่มีโพลีเมอร์อยู่จะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา จุลินทรีย์จะเกาะติดกับอนุภาคดินมี ลักษณะเป็นเมือกบาง ๆ ช่วยอุ้มน้ำได้ส่วนหนึ่ง เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ดินบริเวณนี้จะค่อยๆ อุ้มน้ำได้ดีขึ้นเองเพราะจุลินทรีย์ เนื่องจากกิจกรรมของจุลินทรีย์เป็นไปด้วยดี มี ผลพลอยได้เป็นสารฮิวมิค แอซิด กระตุ้นการเจริญของรากและทำให้ดินร่วนซุย

โพลีเมอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี จุลินทรีย์จะค่อย ๆ ย่อยสลายโพลีเมอร์ให้แตกตัวไปจนกลายเป็นปุ๋ยในที่สุด สำหรับการใช้ในพืนที่เป็นดินเหนียว ที่อาจมีประเด็นปัญหาที่การระบายน้ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรใส่วัสดุอื่น เช่น แกลบ ปุ๋ยคอก เศษพืชต่าง ๆ ผสมเข้าไปกับโพลีเมอร์ด้วย


สนใจสินค้า : https://bio100plus.bentoweb.com/th